- โรคผิวหนัง
ผมร่วง รังแค
โรคผมร่วง คืออะไร
- ผมร่วงประเภทที่เซลล์รากผมถูกทำลาย ทำให้ผมร่วงอย่างถาวร โดยโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังและเยื่อบุ (Cutaneous lupus erythematosus) และ เชื้อราที่หนังศีรษะ เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการผมร่วงแบบนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียผมอย่างถาวรตามมา
- ผมร่วงประเภทที่เซลล์รากผมถูกทำลาย ทำให้ผมร่วงอย่างถาวร โดยโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังและเยื่อบุ (Cutaneous lupus erythematosus) และ เชื้อราที่หนังศีรษะ เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการผมร่วงแบบนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียผมอย่างถาวรตามมา
สาเหตุของอาการผมร่วง
- พันธุกรรม คือ มีประวัติครอบครัวที่มีศีรษะล้าน มีการศึกษาเชื่อว่าสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด และมลภาวะ สามารถเป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดภาวะผมบางได้
- ภาวะเจ็บป่วย การผ่าตัด ความเครียดหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ
- โรคบางชนิดที่อาจทำให้ผมร่วง เช่น โรคต่อมไทรอยด์ การติดเชื้อที่หนังศีรษะ และโรคที่ทำให้เกิดแผลเป็น
- ผลกระทบจากยาที่ใช้รักษา เช่น โรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคข้ออักเสบ ภาวะซึมเศร้า
- ขาดสารอาหาร เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก และสารอาหารอื่นๆ อาจทำให้ผมบางได้
ปัจจัยเสี่ยงและอาการของโรคผมร่วง
ประวัติครอบครัวที่มีศีรษะล้านหรือผมร่วง แก่ก่อนวัย (เป็นปัญหาศีรษะล้านของผู้ชายโดยเฉพาะ) การตั้งครรภ์ ความเครียด ภาวะโภชนาการต่ำ
การรักษาโรคผมร่วง
- การใช้ยาหรือแชมพูกำจัดเชื้อรา
- ทำทรีตเมนต์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดรากผมใหม่ รวมถึงบำรุงรักษาเส้นผมที่มีให้คงอยู่
- ปรับฮอร์โมน ในกรณีผมร่วงจากภาวะฮอร์โมนบกพร่อง
- ทำเลเซอร์ เพื่อแก้ปัญหาการเสื่อมสภาพของเส้นผม และช่วยกระตุ้นเส้นผมให้เกิดใหม่
- ฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP (Platelet-rich Plasma) เพื่อกระตุ้นการทำงานของสเต็มเซลล์บริเวณรากผม
- การปลูกผม โดยวิธีผ่าตัดเจาะรากผมบริเวณท้ายทอย ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่ค่อยโดนผลกระทบจากฮอร์โมน แล้วย้ายรากผมมาปลูกลงในบริเวณที่ต้องการ
รังแค คืออะไร
เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และผลัดออกมาจากศีรษะของเรา มีลักษณะเป็นแผ่น มันวาว สีขาวหรือเหลือง มักติดอยู่บนเส้นผม รวมไปถึงที่ไหล่ของเรา คนที่เป็นรังแค ส่วนใหญ่มักมีอาการคันหนังศีรษะ หนังศีรษะมันร่วมด้วย ส่วนมากมักพบบ่อยในช่วงฤดูหนาว หรือผู้ที่ทำงานในห้องแอร์ที่มีอากาศแห้ง และเย็น
สาเหตุของการเกิดรังแค
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด คาดว่าพันธุกรรมอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง รังแคเกิดขึ้นได้บ่อยกับคนที่มีผิวหนังหรือผมมัน และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังบางประเภท เช่น ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันหรือระบบประสาท เป็นต้น
การป้องกันและรักษารังแค
- หลีกเลี่ยงการสระผมด้วยน้ำอุ่น เพราะนอกจากจะทำให้หนังศีรษะของเราแห้งและหลุดลอกกลายเป็นรังแคแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำมันขึ้นมา เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของหนังศีรษะอีกด้วย
- อย่าเกาแรง ในการสระผม การเกาแรงๆ ที่จะทำร้ายหนังศีรษะของเราโดยตรงเลย เพราะนอกจากจะทำให้เกิดรังแคแล้ว อาจจะได้อาการผมร่วง
- ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมสูตรลดการเกิดรังแค
- ลดความเครียด ความเครียดก็ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดรังแค หรือทำให้อาการแย่ลงได้